6 มีนาคม 2561

ก.วิทย์ฯ-สวทช. ผนึก กรมวิชาการเกษตร เมียนมาร์ สร้างเครือข่ายนักวิจัย พัฒนาพันธุ์ข้าวประเทศลุ่มน้ำโขง



สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) และ กรมวิชาการเกษตร (Director General, Department of Agricultural Research, DAR) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการและงานวิจัย เพื่อดำเนินการวิจัยและพัฒนา สร้างขีดความสามารถ และถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการเกษตรของ 2 หน่วยงาน


สืบเนื่องจากการดำเนินโครงการความร่วมมือของ สวทช. กับประชาคมลุ่มน้ำโขงในการใช้เทคโนโลยีชีวภาพและด้านจีโนม ในการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ข้าวประเทศลุ่มน้ำโขงทั้งประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สืบเนื่องจากประเทศสมาชิกของอาเซียนยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการก้าวไปสู่ตลาดการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ดังนั้นสวทช. โดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) จึงได้ริเริ่มโครงการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับประเทศเพื่อนบ้านตั้งแต่ปี 2544 เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงส่งเสริมการสร้างเครือข่ายนักวิจัยในภูมิภาค เพื่อตอบสนองวิสัยทัศน์ของภูมิภาคอาเซียนในปี 2563 ที่ต้องการขับเคลื่อนการแข่งขันทางเทคโนโลยี ทั้งในเชิงกลยุทธ์ และการพัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพ เพื่อเสริมขีดความสามารถของประเทศเพื่อนบ้านให้ก้าวหน้าและเติบโตไปด้วยกัน

"โครงการดังกล่าวเป็นหนึ่งในโครงการที่ศูนย์ไบโอเทค สวทช. ผลักดันให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ของภูมิภาค และช่วยสร้างความสามารถทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพให้กับภูมิภาคอาเซียน โดยการให้ทุนสำหรับนักวิจัยเพื่อทำวิจัยในห้องปฏิบัติการวิจัยของไบโอเทค สวทช. เป็นเวลา 3-6 เดือน หลักสูตรฝึกอบรมเน้นการให้ความรู้พื้นฐานทางเทคโนโลยีชีวภาพและการปฏิบัติจริง โดยมีนักวิจัยพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำในการทำโครงการวิจัยกว่า 16 ปี มีนักวิจัยชาวต่างชาติได้ทุน 179 ทุน โดยจำนวนหนึ่งได้ทุนการศึกษาขั้นสูงเรียนต่อในประเทศต่างๆ นอกจากนั้นแล้วนักวิจัยที่จบการศึกษาแล้วกลับไปทำงานที่สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัยต้นสังกัดในประเทศต่างๆ ยังสร้างความร่วมมือใหม่ๆ กับนักวิจัยไบโอเทค สวทช. อย่างต่อเนื่อง"


ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังมีโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้การใช้เทคโนโลยีเครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ข้าวผ่านการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการที่มีการปฏิบัติงาน  ระยะยาวโดยใช้โจทย์วิจัยของแต่ละประเทศเป็นหัวข้อในการฝึกอบรม การสนับสนุนทุนการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าวและการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ทดสอบลักษณะสำคัญทางการเกษตรต่างๆ ซึ่งกรมวิชาการเกษตร สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ประสบความสำเร็จในการพัฒนาพันธุ์ข้าวและได้รับการรับรองพันธุ์แล้ว จำนวน 3 พันธุ์ คือ 1.พันธุ์ตูก้าหมุย (ThuKha Hmwe) ได้จากการปรับปรุงพันธุ์มานอวตูก้า (Manawthukha) ให้มีคุณภาพการหุงต้มคล้ายพันธุ์บาสมาติ (Basmati) 2.พันธุ์ซ้อลท์ทอลซินทัวแลต (Saltol Sin Thwe Latt) ได้จากการปรับปรุงพันธุ์ซินทัวแลต (Sin Thwe Latt) ให้ทนเค็ม และ 3.พันธุ์เย็มโยคคาน (Yemyokekhan-3) เป็นข้าวที่มีการปรับตัวต่อสภาพน้ำมากและน้ำน้อยได้ดี ให้มีความหอม และคุณภาพการหุงต้มที่ดีขึ้น
โดยปี 2560 ที่ผ่านมากรมวิชาการเกษตร สาธารณรัฐสหภาพเมียนมาร์ ได้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ใหม่ ประมาณ 2 ตัน เพื่อกระจายให้กับเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมาย ซึ่งจะช่วยสร้างความสามารถทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพให้กับประเทศในภูมิภาคอาเซียน ในการบูรณาการทำงานร่วมกันทั้งการพัฒนาบุคลากรและการวิจัย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างความเข้มแข็งด้านการเกษตรอย่างยั่งยืนร่วมกัน

สำหรับความสำคัญของบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการและงานวิจัยของทั้ง 2 หน่วยงานในครั้งนี้ อาทิ ความร่วมมือในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีผลผลิตสูง การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดให้ต้านทานโรคและมีคุณภาพดี การปรับปรุงพันธุ์ข้าวสาลีให้ต้านทานโรค โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือก (Marker Assisted Selection: MAS) เป็นต้น จะเป็นการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้กับประเทศต่อไป

ด้าน นาย Naing Kyi Win อธิบดีกรมวิชาการเกษตร (Director General, Department of Agricultural Research, DAR) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ กล่าวว่า ด้วยสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์เป็นประเทศพื้นฐานด้านเกษตรกรรม จึงต้องการความช่วยเหลือ การส่งเสริม สนับสนุน และความร่วมมือทางด้านการวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมถึงการสร้างความสามารถและการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตร โดยเฉพาะเทคโนโลยีเครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์พืช ที่จะช่วยเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรได้

ทั้งนี้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มีลักษณะทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคมและเศรษฐกิจที่มีความใกล้ชิดกัน ซึ่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์และประเทศไทยมีความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจที่เด่นชัดมากขึ้นในภูมิภาคนี้ และเพื่อให้เกิดการขยายตัวในเรื่องการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ โดยคำนึงการคุ้มครองสิทธิของทรัพย์สินทางปัญญา ดังนั้นการแลกเปลี่ยนสินค้าทางด้านอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกประเทศต้องเร่งเพิ่มการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคนี้มีความเข้มแข็งอย่างเป็นหนึ่งเดียวกันในระดับสากล



อธิบดีกรมวิชการเกษตร สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับวัตถุประสงค์ในความร่วมมือด้านวิชาการและงานวิจัยครั้งนี้ เพื่อร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือในการวิจัยและนวัตกรรม รวมถึงการสร้างความสามารถของบุคลากรวิจัย (การฝึกอบรมระยะสั้นและระยาวสำหรับบุคลากรระดับปริญาโทและปริญญาเอก) และการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตร โดยเฉพาะเทคโนโลยีเครื่องหมายโมเลกุลในการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์พืช อีกทั้งเพื่อสร้างกรอบการทำงานและความร่วมมือในการเก็บรวบรวมและประเมินเชื้อพันธุกรรมของข้าว ข้าวโพด และพืชอื่นๆ โดยอาศัยการจำแนกสายพันธุ์ด้วยเทคโนโลยีฟีโนไทป์และจีโนไทป์ ตลอดจนเพื่อกระตุ้นให้เกิดการทำงานร่วมกันในเรื่องที่มีความสำคัญเร่งด่วน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในด้านการวิจัยและนวัตกรรมของทั้งสองประเทศ หรือโครงการต่างๆ ที่มีแผนว่าจะจัดทำขึ้นต่อไปในอนาคต


11 มกราคม 2559

สัมภาษณ์ “มิหมี” อรนุช เลิศสุวรรณกิจ co-founder แห่ง Techsauce Media ผู้หญิงเก่งของวงการ Startup ไทย

สัมภาษณ์ “มิหมี” อรนุช เลิศสุวรรณกิจ co-founder แห่ง Techsauce Media ผู้หญิงเก่งของวงการ Startup ไทย ถึงมุมองบทบาทผู้หญิงต่อวงการ tech startup พัฒนาการของ tech startup ในประเทศไทย ข้อเสนอแนะต่อ tech startup และเป้าหมายของ  Techsauce Media


“มิหมี” อรนุช เลิศสุวรรณกิจ co-founder แห่ง Techsauce Media
ขอบคุณภาพจาก Techsauce Media

- เริ่มทำ startup ตั้งแต่เมื่อไหร่ ทำไมถึงมาทำได้ ทำ startup อะไรบ้าง 

เริ่มมาได้ประมาณ 5 ปีแล้วค่ะ ส่วนตัวเป็นคนที่อยากทำตามสิ่งที่ตัวเองรัก และชอบ เลยรวมตัวกับเพื่อนๆ ที่มี passion และความชอบคล้ายๆ กัน โดยช่วงแรกๆ ยังทำคู่กับงานประจำ แล้วก็ตัดสินใจออกจากบริษัทใหญ่ มาทำธุรกิจกับเพื่อนๆ ตอนนี้หลักๆ ก็ดูแล Thumbsup Techsauce และเป็นพาร์ทเนอร์ดูเรื่อง Product Development ให้กับทาง Computerlogy

tech startup ecosystem ไทยกำลังได้รับความสนใจ จริงๆ ไทยเองมี tech startup แต่ไม่ได้นิยามว่ามันคือ tech startup ชัดเจน คำนี้เพิ่งมาเด่นชัดช่วง 3-4 หลังนี้ จากผู้สนับสนุนใน ecosystem ย้อนไปเมื่อสัก 5 ปีก่อน เรายังไม่เห็นสื่อไทยที่พูดถึงเรื่องนี้หรือสนับสนุนโดยตรง แต่ในต่างประเทศ อาทิ Tech Crunch หรือในภูมิภาคนี้ก็มี Tech in Asia และ e27 มีเรื่องราวที่เป็นข่าวของ startup ของแต่ละประเทศ แต่ในไทยขาดคนที่จะช่วยในการผลักดันให้ startup ไทยเป็นที่รู้จักมากขึ้น อีกมุมคือ ความรู้ในต่างประเทศที่สามารถนำมาถ่ายทอดความรู้ให้คนในประเทศได้ เลยคิดกันกับเพื่อนๆ ในทีมว่าเราน่าจะนำเสนอเนื้อหาด้านนี้นะ ในขณะนั้นยังทำอยู่ในนามของ thumbsup และปัจจุบันแยกออกมาเป็นอีกแบรนด์คือ techsauce   เพื่อเป็นมีเดียแพลตฟอร์มกลางที่สนับสนุนวงการธุรกิจ Tech startup โดยแบ่งเป็น platform for online community [ตัวเว็บไซต์] และ offline event [start it up conference] ที่มีการจัดอย่างต่อเนื่องตลอด 4 ปีเต็ม ถือเป็น Tech Startup event แรกของไทย ภายในงานมีการ networking ระหว่าง startup กับนักลงทุน startup กับองค์กร enterprise incubator accelerator ต่างๆ ได้มาพบเจอกัน ดึง speakers จากต่างประเทศ เราเชิญ startups ในไทยที่ประสบความสำเร็จได้มาถ่ายทอดความรู้ให้กับคนรุ่นใหม่ได้ดำเนินธุรกิจไปในทิศทางที่เหมาะสมและถูกต้อง

เรามีการทำ report เรามีข้อมูล insight ที่มากที่สุดในไทยว่ามี startup รายไหนได้รับ funding เท่าไร แต่ละขั้นจำนวนเท่าไร และมีรายไหน exit ไปแล้ว มีนักลงทุนรายไหนที่ active ในตลาดบ้านเรา เราก็จะเก็บข้อมูลพวกนี้ทั้งหมดเป็นฐานข้อมูล แล้วนำมาถ่ายทอดในรูปแบบของ report และแยก industry ไว้ด้วย เช่น fintech IOT และอีกหลายๆ ภาคธุรกิจที่คนให้ความสนใจ

- บทบาทของ Techsauce ต่อวงการ startup เป็นอย่างไร

techsauce เป็น joint venture ระหว่าง thumbsup กับ HUBBA แกนหลักของ techsauce มี 3 business unit คือ 1. มีเดีย ในแง่ของ Tech startup สามารถเข้ามาอ่านข่าวสารต่างๆ ในวงการ และความรู้เรื่องการทำธุรกิจ Startup ได้ ในขณะเดียวกันเราก็ขยายฐานวงกว้างมากขึ้น ให้ Digital SME คนรุ่นใหม่มาดูว่ามีบริการของ Startup รายไหนที่น่าสนใจ นำบริการและเทคโนโลยีเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ให้การทำธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึุ้น และ SME ที่มีศักยภาพอาจปรับแนวคิดรูปแบบธุรกิจเข้ากับความถนัดและเชี่ยวชาญของตนเอง ก็อาจกลายเป็นธุรกิจ Startup ได้ด้วยเหมือนกัน 2. เรามีส่วนด้าน research พัฒนา report อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น 3. Event => start it up conference

- มองบทบาทของผู้หญิงกับวงการ startup อย่างไร 

ผู้หญิงกับวงการ startups เมื่อ 4-5 ปีก่อนอาจจะเห็นไม่เยอะ แต่ตอนนี้เริ่มเห็นมากขึ้น มีหลายท่านที่เก่งและส่วนตัวชื่นชมมากๆ อย่างคุณ Shanon (Moxy) หรือคุณ June GrabTaxi
ผู้หญิงสามารถมีศักยภาพที่ไม่ต่างจากผู้ชาย แต่เวลาคนพูดถึง tech startup คนจะนึกถึงผู้ชาย เพราะผู้หญิงส่วนใหญ่ (รุ่นมิหมี) ไม่ค่อยเห็นมาสาย tech เท่าไหร่ (แต่ตอนนี้ก็มีมากขึ้นนะคะ) หากเทียบกับงานแล้ว ดูเหมือน tech เป็นงานของผู้ชายค่อนข้างมาก แต่จริงๆ แล้วการทำธุรกิจ tech startup มันไม่ได้อยู่แค่เทคโนโลยี จริงๆ มันคือความเข้าใจในธรกิจที่คุณกำลังทำ เทคโนโลยีเป็นส่วนเสริม เราต้องเข้าใจปัญหาที่มีอยู่ในตลาดจริงๆ ของผู้ใช้ และเราคิดว่าจะนำโซลูชั่น และเทคโนโลยีมาใช้เพื่อนำไปช่วยแก้ปัญหา หรือตอบโจทย์ดังกล่าวได้อย่างไร จริงๆ แล้วผู้หญิงก็สามารถขับเคลื่อนธุรกิจสาย tech startup ให้เติบโตได้เช่นกัน ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ชายอย่างเดียว ผู้หญิงมีศักยภาพที่ทำงานตรงนี้ได้ ดีใจที่หลังๆ เริ่มเห็น community ในไทยที่จะผลักดันให้ผู้หญิงกล้าที่จะก้าวออกมาเป็นผู้ประกอบการและผู้นำมากขึ้น ที่ผ่านมางาน Startup weekends เราเคยจัด women in tech เพื่อที่จะเปิดเวทีให้ผู้หญิงกล้าที่จะแสดงออกในเรื่องการนำเสนอไอเดียและการทำธุรกิจ

ในวงการ startup background คุณจะมาจากสาย tech หรือ business ก็ได้ค่ะ แต่ที่สำคัญคือคนที่เป็นผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ มีความเข้าใจในภาคธุรกิจที่ตัวเองกำลังทำอยู่ ส่วนตัวเองแม้จบสาย  technical มา แต่ปัจจุบันก็ไม่ได้เขียนโปรแกรมแล้ว แต่อย่างน้อยๆ เวลาคุยงานกับคนในสายเทคโนโลยีเราต้องคุยกันในภาษาเดียวกัน เราเข้าใจเขาว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ อะไรเป็นข้อจำกัด และค่อยๆ ปรับจูนกัน ถ้าตรงนี้ทำไม่ได้ ลองเสนอทำแบบนี้ไหม เพื่อให้งานเดินต่อ มีทางออกหลายๆ ทางๆ ถ้าหากเราพอเข้าใจตรรกะตรงนี้ ซึ่งไม่จำเป้นต้องจบสายเทคโนโลยีก็ได้ ขอให้มี logic skill มันช่วยให้เราสามารถคุมทีมและไปได้เร็วมากขึ้น

มิหมีจบวิศวะไฟฟ้าสื่อสารโทรคมนาคม ที่ลาดกระบัง ป.โท IT management abac เรียนโค้ดดิ้งมา เข้าใจตรรกะการคิดของคนทำซอฟต์แวร์บ้าง ผนวกกับไอเดียด้านธุรกิจ มาประกบจะเข้าใจการทำงานของตัวซอฟต์แวร์กับการใช้งานจริง เวลาคุยกับลูกค้าจะได้เข้าใจได้

ประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมามีส่วนสำคัญมากที่ช่วยส่งเสริมการทำงานทุกวันนี้ ตลอดเวลาที่ผ่านมาโชคดีเจอพี่ๆ หัวหน้าเก่งๆ ในองค์กรใหญ่ สอนและหัดให้เรารู้จักคิดเอง และทำเอง ตอนทำงานประจำตอนนั้นไม่ได้ดู engineering จ๋า แต่งานมันจะกึ่งๆ คล้ายๆ กับคิดหาโซลูชั่น คือ คิดว่าตลาดต้องการอะไรเข้ามาช่วยในการแก้ปัญหา ทำโซลูชั่น และดูด้าน project management ด้วยคือ คุม timeline ดู budget ด้วย ต้องคุยภาษาธุรกิจให้คน engineering เข้าใจ และย่อยสิ่งที่เป็น technical จ๋าๆ ให้คน business เข้าใจ ซึ่งตรงนี้เป็นทักษะที่ช่วยได้เยอะตอนที่ออกมาเป็นผู้ประกอบการเอง

- ในฐานะที่คลุกคลีในวงการ startup มาโดยตลอด มิหมี เห็นว่าวงการ startup ไทยมีพัฒนาการอย่างไร 

วงการ startup ไทยเติบโตมากเป็นเท่าตัว เราได้เห็น startup ที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนในระยะต่างๆ มากขึ้นตั้งแต่ seed และ series A มากขึ้น แม้หากเทียบกับประเทศอื่นๆ อาจจะยังไม่เยอะมาก แต่หากมองกลับไป 5-6 ปีก่อนกับตอนนี้มันแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด community ได้ช่วยกันผลักดันมีหลายภาคส่วนที่เข้ามาช่วยผลักดัน อาทิเช่น Thailand Tech Startup Association ซึ่งตอนนี้ถือเป็นช่วงที่ดี คนที่เริ่มธุรกิจช่วงเวลานี้ถิอว่าโชคดีมากๆ เพราะน้องๆ หลายๆ คน จะมีโอกาสได้เรียนรู้จากรุ่นพี่ แต่ในอดีตไม่มีใครมาแนะนำให้แบบนี้  วงการ startup ไทยเริ่มตื่นตัวและหันมาให้ความสนใจกันช่วงปี 2012 ในช่วงนั้นมี startup ไทยอย่าง builk.com ชนะการแข่งขัน Echelon ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่ thumbsup เริ่มพูดเรื่อง startup มี Mobile Operator ยักษ์ใหญ่ให้การสนับสนุน มี Co-working space เกิดขึ้นในไทย

- มิหมี มองว่า startup ไทยจะมีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างไร และสามารถช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้กับประเทศไทยได้อย่างไรบ้าง

วงการ startup ก่อให้เกิดโอกาสการสร้างงานใหม่ๆ การที่มี startup มากขึ้น เข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิต ช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น ทำให้ประเทศมีโอกาสในการสร้างงานใหม่ๆ ให้คนรุ่นใหม่ๆ ที่จบออกมาด้าน science engineering business ต่างๆ startup ในไทยอาจจะยังเป็นจุดเล็กๆ แต่ในประเทศที่ startup เข้มข้น จะเห็นว่า startup ของเขามีส่วนช่วยในการขับเคลื่อน GDP ของประเทศ มั่นใจว่า Startup ไทยมีศักยภาพที่จะช่วยขับเคลื่อน GDP ของประเทศไทยได้ในอนาคต การจะทำให้ startup มีปริมาณที่มากพอ (และต้องมีุคุณภาพ) สิ่งที่สำคัญคือการถ่ายทอดความรู้ การทำธุรกิจอย่างถูกต้อง

Tech Startup ไม่ใช่ SME และไม่ใช่บริษัทแบบ Software House หรือ IT outsourcing การสนับสนุนในด้านนี้ย่อมไม่เหมือนกัน ทุกๆ คนควรเข้าใจและอยู่ในบริบทที่ตรงกันก่อน เมื่ออยู่ในบริบทเดียวกันแล้ว และค่อยมาดูว่าส่วนงานที่เราดูแลอยู่นั้นจะช่วยเหลือและสนับสนุนอะไรได้บ้าง แต่ถ้าโจทย์แรก ความเข้าใจของรูปแบบธุรกิจยังไม่ชัดเจน ยังไม่ได้อยู่ในบริบทเดียวกัน เรื่องการ implement ยังไม่ต้องกล่าวถึงเลย

ส่วนเรื่องการผลักดันและการสนับสนุนในเรื่องของภาษี แม้ตอนนี้จะมีส่วนของ BOI มาให้การสนับสนุน แต่เราก็อยากเห็นการผลักดันด้านอื่นๆ อาทิเช่น การดึงดูดให้คนมาร่วมงาน Startup นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ดังเช่นองค์กรใหญ่ ก็อยากให้มีเรื่อง ESOP (Employee Stock Ownership Plan) ออกมารองรับให้กับธุรกิจที่ยังไม่ได้ลิส ในตลาดด้วย, อยากให้มีโครงการที่สนับสนุน Startup ที่มีบุคคลและทีมงานที่เข้าใจในเรื่องนี้มาดูแลจริงจัง อาทิเช่น ที่มาเลฯ ก็มี MAGIC

สิ่งที่อยากเห็นนอกจากนี้คือ อยากให้กฎระเบียบต่างๆ เอื้อกับ Startup ไทยที่ได้รับการระดมทุน ตอนนี้ Startup บ้านเราหลายรายเมื่อถึงระดับ Series A ก็เจอนักลงทุนต่างชาติขอให้ไปจดทะเบียนที่สิงคโปร์ หรือฮ่องกงแทน ซึ่งใจคนไทยเราเองก็ไม่อยากให้เป็นแบบนั้น

- ecosystem ของ startup ไทยในปัจจุบันมีความพร้อมมากน้อยแค่ไหนที่จะทำให้ startup เป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ 

หากพูดถึง startup ecosystem ในไทยภาคเอกชนตอนนี้ไปเยอะแล้ว มีสมาคมฯ ให้ความรู้ที่ถูกต้องกับ startup  มีโครงการ Incubator/Accelerator ดีๆ ในไทยหลายอัน แต่แน่นอนก็ต้องค่อยๆ เป็นค่อยไป startup ที่เห็นประสบความสำเร็จอาจยังมีไม่มาก ยังพึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นกันอยู่ แต่เชื่อว่าถ้าเราช่วยกันคนละไม้คนละมือ ย่อมผลักดันให้เติบโตไปด้วยกันได้ ส่วนภาครัฐเราก็อยากเห็นการสนับสนุนนโยบายต่างๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้นก่อนหน้านี้

- มูลค่าการลงทุนในธุรกิจ startup ในไทย ปีนี้ปีหน้า 

มูลค่าการลงทุนก้าวกระโดดในช่วงปี 2 ปีที่ผ่านมาเยอะมาก มี startup เก่งๆ หลายรายมี product ที่น่าสนใจและได้รับเงินทุน ปีหน้าก็คาดการณ์่ว่าจะได้เห็นมูลค่าการลงทุนในธุรกิจ startup ไทยมากขึ้น
อบ่างไรก็ตามในมุมของ Startup ที่กำลังพึ่งเริ่มทำธุรกิจ ก็อยากให้มองว่าการขอระดมทุนนั้น ควรขอในช่วงเวลาที่มี traction มีกลุ่มลูกค้าผู้ใช้ระดับนึงแล้ว แรกๆ คุณควรโฟกัสให้ความสนใจในการพัฒนา product ใ้ห้ดีก่อน เมื่อพร้อมคิดจะขยาย เติบโตธุรกิจค่อยขอระดมทุน และขอระดมทุนในตัวเงินที่เหมาะสม ในการนำมาใช้ดำเนินธุรกิจ การขอระดมทุนต้องวางแผนให้ดี ไม่ใช่ขอมาเยอะไป valuation สูงมาก เพราะต้องคิดเผื่อถึงในรอบถัดๆ ไปด้วย

- จำนวน tech startup ในไทยตอนนี้มีมากน้อยเพียงใด และคาดการณ์ว่าจะเกิด tech startup ในปี 2016 เพิ่มขึ้นอีกจำนวนเท่าใดอะไรคือปัจจัยของการเติบโต

จำนวน startup ไทยตอนนี้ที่ทำอยู่จริงๆ ไม่เกิน 1000 ราย วงจรชีวิตของ Startup พอ product ไม่ market-fit ไม่มีคนใช้ก็เลิกล้มไม่ได้ทำกันต่อก็เยอะ กลุ่ม founder คิดเห็นไม่ตรงกันก็แยกย้ายกันไปเยอะ
สิ่งที่ยังขาดและควรเสริมคือ ความรู้เรื่องของการท product ที่ตอบโจทย์และแก้ปัญหา (pain point) จริงๆ ของผู้ใช้ product ปกติมี 2 แบบ คือ must have กับ nice to have ซึ่งโอกาสจาก nice to have ไปเป็น must  have มันมีแนวคิดของการทำ product ประเภทนี้อยู่ คือ hook คือ การปรับ product ที่เป็น nice to have ให้ผสมผสานเข้าไปในชีวิตประจำวันจนกลายเป็น must have ไปเป็นส่วนหนึ่งของพฤติกรรมของคนอย่าง Facebook ทำให้คนติดหนึบกับ product ของเขาได้

สิ่งสำคัญอีกอันคือคุณต้องหาจุดต่างจริงๆ ของคุณเมื่อเทียบกับคู่แข่งให้เจอ ปัจจุบันยากนัก ที่จะไม่มีใครลอกเลียนแบบ แต่คุณต้อง move fast มุ่งหน้าไปให้เร็ว หนีคู่แข่งก่อน

และอยากให้คิดระดับ Regional แต่แรก คิดให้ใหญ่ไปเลย คิดว่าจะ go regional ได้ แต่ตอนแรกคุณควรครองตลาดในประเทศไทยให้ได้ก่อน เป็นเหมือนตราประทับ เป็น springboard ออกไปในประเทศอื่นๆ พอออกไปต่างประเทศไปหาพาร์ทเนอร์ที่นั่นจะคุยง่ายขึ้น เพราะคุณพิสูจน์ในประเทศตัวเองมาแล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่า ให้ดูแค่ตลาดไทย เข้มแข็งในบ้านตัวเองและพร้อมที่จะออกไปตลาดต่างประเทศได้ ตรงนี้จะดึงดูดนักลงทุนให้สนใจเพราะ product คุณมี market size ที่ใหญ่พอ

- เป้าหมายของ techsauce และเป้าหมายส่วนตัว

เรายังคงมีเป้าหมายที่จะช่วยสร้างสังคม startup ให้แข็งแรงมากขึ้น ไม่ว่าจะด้วยสื่อออนไลน์ที่เรามีและอีเว้นท์ที่จัดใหญ่ขึ้น 4,000 คน ระดับภูมิภาค อย่างไรก็ตามเรามุ่งเป้าเพื่อช่วยเหลือ startup ไม่ใช่แค่ในเรื่อง awareness, networking กับพาร์ทเนอร์หรือนักลงทุนเท่านั้น แต่เราอยากช่วยให้ startup มี traction ด้วย มีโอกาสได้เจอกลุ่มผู้ซื้อ และในอีกมุมหนึ่งก็อยากช่วยสร้างและพัฒนา startup หน้าใหม่ที่มีคุณภาพขึ้นมาใน community เช่นกัน

techsauce ขอเป็นส่วนหนึ่งในการสร้าง community ตรงนี้ให้แข็งแรงดังเช่น ที่เราทำมาโดยตลอด 5 ปี ตั้งแต่ยังเป็น thumbsup เราเป็นทีมงานคนไทยที่เข้าใจ และมั่นใจว่าคนที่จะแก้ pain ของ startup community / startup ecosystem ตรงนี้ได้ คือ ต้องเป็นทีมงานของคนไทย

แผนในระยะยาว มีความตั้งใจจะขยายธุรกิจออกภูมิภาคอินโดจีน ขยายฐานสู่ลาว พม่า และเวียดนาม ซึ่งมีเครือข่ายตรงนั้นอยู่  แลกเปลี่ยนกันและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ สร้าง community ที่แข็งแรง เชื่อว่ามีหลาย startup ที่อยากไปเปิดตลาดในประเทศเพื่อนบ้าน โดยเริ่ม pilot ในปีนี้ ทุส่วนเรื่องการระดมทุน ก็กำลังมองหาอยู่ โดยการระดมทุนจะมาช่วยสร้างให้ธุรกิจที่สนับสนุน startup ไทยตรงนี้เติบโตและแข็งแกร่งมากขึ้น

สำหรับเป้าหมายส่วนตัวในระยะยาว ก็อยากทำงานเพื่อสังคม หวังว่าประสบการณ์ที่ผ่านมา พอจะเป็นประโยชน์กับน้องๆ รุ่นหลังๆ ในการทำธุรกิจบ้างไม่มากก็น้อยค่ะ

3 มกราคม 2559

บทบาท HUBBA ...... Ecosystem Builder สำหรับ Startup ไทย

ก่อนปิดปี 2558 ได้มีโอกาสสัมภาษณ์คุณ​เอม อมฤต เจริญพันธ์ Co-founder และ Co-CEO ของ HUBBA Thailand ถึงเป้าหมายและของ HUBBA ต่อวงการ startup ไทย 

คุณ​เอม อมฤต เจริญพันธ์ Co-founder และ Co-CEO ของ HUBBA Thailand
ขอบคุณภาพจาก Techsauce

- แนวคิดและจุดกำเนิดของ Hubba 

แนวคิดของ HUBBA เกิดจากการที่ผมและพี่ชาย (ชาล เจริญพันธ์ ) ผู้ร่วมก่อตั้งเราเจอปัญหาส่วนตัวในการเป็นผู้ประกอบการตั้งแต่ก่อนที่จะเริ่มทำ HUBBA ซึ่งเป็นปัญหา universal ที่ทุกคนในเมืองไทยมี แต่ไม่มีใครแก้ ก็คือ ก่อนที่จะมี co-working space ก่อนที่ทุกคนจะรู้จัก startup VC และการระดมทุน การเป็นผู้ประกอบการก็คือ เราต้องมีเงิน มี connection มีชื่อเสียงหรือมีต้นทุนอะไรบางอย่างแล้วออกไปทำ สร้างทุกอย่างให้เสร็จ และลองออกไปขายดู เจ๊งหรือไม่เจ๊งไม่รู้ 

แต่ช่วงก่อนหน้านี้ช่วงที่เริ่มเปลี่ยนจาก 2G ไป 4G คนเริ่มใช้สมาร์ทโฟน เริ่มใช้เน็ต และแอพฯ เยอะ และมองว่าเป็นธุรกิจของอนาคตแน่ๆ ผมเรียนบัญชี พี่ชายเรียกวิศวะอุตสาหกรรม เป็นสองคนที่มีความฝัน มีความสนใจแต่โค้ดไม่เป็น ไม่รู้จักโปรแกรมเมอร์ ไม่รู้จะจ้างใคร ไม่รู้ว่าจะทำ startup ยังไง เราก็พยายามศึกษาว่าวิธีที่จะเร่ิมเขาทำกันยังไง พยายามอ่านข้อมูลจากสื่อต่างประเทศ แล้วค้นพบว่าข้อมูลเหล่านี้อยู่ในโลกออนไลน์แต่เรายังไม่มั่นใจในตัวเอง ยังไม่รู้ว่าไอเดียเราเวิร์คไหม เราไม่รู้ว่าเราควรจะจ้างนักพัฒนาแบบไหน ใครเก่ง ใครสนใจทำโปรเจคเดียวกันกับเรา แต่ในเมืองนอกทุกคนเวลาเขาอยากทำ startup เขาจะไปอยู่ตาม community ซึ่งอาจจะเป็น conference meetup co-working space แต่ในเมืองไทยตอนนั้นหากไปเสิร์จใน meetup.com แทบจะไม่มีเลยมีงานเกี่ยวกับ startup ช่วงนั้นตรงกับน้ำท่วมด้วยเลยยิ่งไม่มีการจัด event เลยพยายามหา co-working space ในไทย เราทำ research ข้อมูลใน SEA เราพบว่าที่ญี่ปุ่นตอนนั้นมี co-working space 200-300 ที่ ที่สิงคโปร์มีเกือบจะ 10 ที่ตอนนั้น (ตอนผมเปิด HUBBA ที่สิงคโปร์มีเกือบ 20 ที่)​ เลยรู้สึกว่า ถ้าคนที่นั่งทำงานที่ co-working space คือคนที่เป็น startup freelance ที่มีเป้าประสงค์ที่อยากทำธุรกิจของตัวเอง มี passionใกล้เคียงกัน ถ้าเราไปที่นั่น เราคงได้เพื่อนเก่งๆ ได้รับคำปรึกษา แต่พอหาในเมืองไทยไม่มี co-working space เลย เราเลยรู้สึกว่าเรายังไม่รู้หรอกว่าเราจะเริ่ม startup ยังไง แต่เราอยากเจอ community อยากรู้จักคน อยากเรียนรู้เกี่ยวกับวงการ เราเลยคิดสร้าง co-working space และก่อนที่จะมาทำ HUBBA และก่อนคิดจะมาทำ startup ทีมงานเราเจอทุกปัญหา ทั้งโดนโกง โดนเอาเปรียบ ทำธุรกิจแล้วไปไม่รอดเพราะไม่ได้วิเคราะห์ตลาดได้ดีพอ เราเล็งเห็นว่าการเป็นผู้ประกอบการในไทยก่อนหน้ามันไม่ lean ไม่ startup เลย ก็ต้องเล่นจริงเจ็บจริง ล้มแล้วลุกใหม่ แต่จะดีกว่านั้นไหมถ้าเราสามารถเรียนรู้จากรประสบการณ์คนอื่นแล้วไปต่อยอดจากประสบการณ์ของเขา ไม่ต้องล้มในท่าเดิมๆ ในที่เดิมๆ แต่เราไปล้มในปัญหาใหม่ๆ แล้วเรารู้สึกว่าอยากให้มีบรรยากาศอย่างนั้น เลยมองว่าเราสร้าง co-working space เพื่อแก้ตอบสนองและแก้ไขปัญหาของตัวเอง และพยายามจะสร้าง a dream office, a dream community ที่เราอยากเจอคนแบบไหนเราก็อยากจะสร้าง co-working space แบบนั้น 

ปัญหาเรื่อง culture และ environment ของการเป็น entrepreneur ในเมืองไทยไม่ค่อยดี ไม่ค่อยสนับสนุนผู้ประกอบการ และ innovative community ที่จะช่วยสร้างผู้ประกอบการ startup เราหาไม่เจอในเมืองไทย เราก็เลยขออาสาเริ่มดู ซึ่งตอนเกิด HUBBA เกิดพร้อมวงการ startup ในไทย มันประจวบเหมาะพอดี ตอนนั้น builk.com ชนะที่ echelon พี่กระทิง พี่หมู พี่มิหมี thumbsup จัด start it up ที่ HUBBA คนมาเยอะมาก เหมือนทุกอย่างในปีนั้นมันถึง tipping point ในอดีตเราไม่เห็นคนไทยสร้างเทคโนโลยีของตัวเองนัก แต่พอถึงจุดหนึ่ง มีคนที่เริ่มประสบความสำเร็จแล้ว คนไทยมีศักยภาพ ความรู้จาก silicon valley คนไทยเริ่มเข้าถึงได้ง่ายทั้ง online course competition conference แล้วเริ่มมี investor จริงๆ ทั้งโอเปอเรเตอร์ และรายบุคคล ทำให้หลายๆ คน เริ่มมั่นใจ บริษัทไอที software house เริ่มอยากทำโปรดักส์ของตัวเอง น้องๆ คนรุ่นใหม่ที่แต่ก่อนต้องไปทำงานบริษัทซอฟต์แวร์ เขาสามารถที่จะทำธุรกิจของเขาเองได้ จึงมีการเปลี่ยน mindset ของคนในวงการ ตอนนี้เป็น 1,000 ทีมที่มาทำ startup 

- บทบาทของ HUBBA ต่อวงการ startups ไทย 

บทบาทของ HUBBA ว่า co-working space เป็นจุดเริ่มต้นและจุดสำคัญ เราจะมีพื้นที่ใหม่ๆ ในหลายๆ location เพื่อเอื้อต่อการทำงาน แต่เรามองว่า co-working space อย่างเดียวไม่พอ ไม่ useful พอที่จะทำให้ startup ประสบความสำเร็จหรือไม่ล้มเหลวได้ เพราะการมีที่ทำงานที่ดีที่ประหยัดที่ทำให้สร้างทีมและทำงานร่วมกันได้ มันดี แต่ถ้าหาลูกค้าไม่ได้ หานักลงทุนไม่ได้ ไม่มีสื่อ ไม่มีช่องทางการตลาด ไม่มีทีมงานที่มาร่วมงานที่จะทำให้โปรดักส์เสร็จ ไม่มีการออกแบบที่ดี ทุกอย่างต้องเป็นองค์ประกอบที่มารวมกันทำให้เกิด startup ที่ดี เราคุยกับสมาชิกเราในพื้นที่เรา เราพบว่าปัญหามันเยอะ เราจึงพยายามทำตัวให้ไปเติมเต็มในส่วนที่ในวงการยังขาดหายไป บทบาทตอนนี้จะกลายเป็น ecosystem builder คือ พยายามจะสร้าง parties facilites โครงการ กิจกรรต่างๆ ที่มาเติมเต็มให้วงการ startup ในทุกส่วนไอเดีย ทีม เงินลงทุน เราจะเข้าไปเติมเต็มในทุก journey ของ startup เรามอง HUBBA เป็นเหมือนเพื่อนร่วมทาง  คล้ายๆ coach business partner ในการช่วยให้เพื่อนๆ ที่เป็นสมาชิกเราจากที่ไม่มีอะไรเลยจนไปถึงได้รับการลงทุนจนไปถึงการมีกำไร แล้วแต่ว่าเขาอยากเลือกมีกำไร หรืออยากระดมทุน 

ซึ่งบทบาทของการเป็น ecosystem builder เราทำอะไรมาแล้วบ้าง ในฝั่งสื่อและ event เมื่อก่อนยังไม่มีสื่อที่พูดถึง startup มากนัก เราก็ทำ techsauce เรื่องของการสร้างทีมใหม่ๆ คนที่ไม่มีทีมไม่มีไอเดีย เราก็จัด co-founder dating และจัดการแข่งขัน ในอนาคตจะเป็นเรื่องของการศึกษาให้ความรู้มากขึ้น ตอนนี้เราจัด workshop เยอะ เดือนนึงมี 10-15 workshop ที่จัดที่ HUBBA เป็นเรื่องของสันทนาการความรู้ ปีหน้าจะเป็น course ยาวๆ ขึ้น เพื่อสร้างคน สร้าง back-end developer, mobile developer, UX designer, data scientist เป็น course ที่สร้างคนเพื่อที่เขามี skill เพื่อที่เขาจะเริ่มหรือร่วมกับ startup ซึ่ง course เหล่านี้เราจะร่วมกับ partners อาทิ 500 startups Ardent Capital Gloden Gate Disrupt University เราจะร่วมมือกันหลายๆ ภาคส่วน เพื่อทำให้วงการมันแข็งแรง 

- ภาพรวมของ Hubba ในปัจจุบัน และแผนธุรกิจในอนาคต (ระยะสั้นและระยะยาว) 

HUBBA ที่เอกมัยมี 2 location (ซอย 4 มี 2 ที่) cluster office ที่เราบริหารให้ partner เรา (ที่เอกมัย 23) มีนาคมจะเปิด HUBBA-TO กับแสนสิริ ส่วนที่เป็นหุ้นด้วยจะมี pun space ที่เชียงใหม่มี 2 ที่ (ท่าแพ กับนิมมานฯ) ที่เวียงจันทน์มี 1 ที่ชื่อ​ “โต๊ะลาว”​ ในอนาคตจะเพิ่มทั้งในต่างจังหวัดและต่างประเทศ จะค่อยๆ ขยายเพราะ co-working space เป็นธุรกิจที่ใช้ทรัพยากรในการสร้างวัฒนธรรมและบรรยากาศต้องใช้เวลาในการขยาย ธุรกิจของ HUBBA เป็น co-working space แต่บทบาทเป็น ecosystem builder เราก็มีเป้าหมายอยากเห็น startup ไทยประสบความสำเร็จ เป็นฮีโร่ เป็นแรงบันดาลใจให้น้องๆ คนรุ่นใหม่เห็นว่าเราทำได้ คนไทยอาจจะขาดความมั่นใน ขาดกำลังใจ อาจจะมองว่า startup ไทยไม่เก่งเท่าสิงคโปร์ มาเลเซีย ซึ่งไม่จริง คนเราเก่งแต่เราไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควร กว่าคนที่เก่งและประสบความสำเร็จเขาต้องใช้เวลาล้มลุกคลุกคลานมาหลายปี กว่าจะตั้งตัวและมาประสบความสำเร็จก็ปีที่ 6 อายุ 30 กว่า แทนที่เราจะให้คนอายุ 30 ใช้พลังงานในการสร้าง startup ตัวเดียว เราจะทำอย่างไรให้เขาสามารถทำได้ตั้งแต่อายุ 22 ภายในปี 2020 เป้าที่เรามีร่วมกันในวงการคืออยากเห็น startup ไทยที่มีมูลค่าธุรกิจขนาด 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ คนไทยจะสร้าง startup ที่คนทั้ง asia และทั่วโลกอยากใช้ 

เป้าการขยายของ HUBBA ปี 2016 อยากมี 10 ที่ แต่ในวงการ co-working space ก็น่าจะเกิน 60 location ขนาดของ co-working space ที่เราอยากได้ คือ เกิน 400 ตารางเมตร เพราะ community เร่ิมใหญ่ขึ้น คนมากขึ้น เราต้องการพื้นที่ที่มี function ที่หลากหลายขึ้น พอ co-working space เยอะ คนก็เร่ิมเข้าใจและรู้จัก มี choice ให้เลือกเยอะ เราจึงต้องพัฒนาสถานที่ตลอดเวลา มีสิ่งอำนวยความสะดวกใหม่ๆ ตลอดเวลา เอกลักษณ์​ของ HUBBA คือ facilities เราอาจจะไม่ได้ใหม่สุด ไม่ได้ใหญ่สุด ไม่ได้หรูที่สุด แต่เราเน้น content เป็นหลัก ถ้าให้เลือก co-working space จาก 60 ที่ ที่ active ที่สุดในเรื่องของ startup ที่มีกิจกรรมเยอะที่สุด ที่มีความเป็น community มากที่สุด และความเข้าใจ มีประสบการณ์และมี connection เกี่ยวกับ startup มากที่สุด เราคิดว่า HUBBA แทบจะเป็นที่เดียว เป็น top of mind ในเรื่องนี้ 

การลงทุน ของ HUBBA มีหลายรูปแบบ ได้แก่ ลงทุนเองทั้งหมด ร่วมลงทุน หรือบริหาร co-working space ให้ partner ปัจจุบัน HUBBA มี active member ทุกสาขา (ไม่รวม HUBBA-TO) มีคนมาใช้บริการเกิน 200 คนต่อวัน จนถึงปัจจุบันคนที่ได้รับ impact จาก HUBBA เกิน 10,000 คนแล้ว ประมาณ 80% ของคนที่เข้ามาใช้บริการ HUBBA บอกว่า HUBBA มี impact ต่อ professional and personal development ของเขา เขามาแล้วเขาได้เรียนรู้และพัฒนาตัวเอง และได้ connection 

การระดมทุนใน HUBBA 

การระดมทุนใน HUBBA ผ่านมาเพียงรอบเดียวคือ pre-series A คือ 350,0000 USD หรือประมาณ​10 ล้านบาท ทั้งจากกองทุนและนักลงทุนรายบุคคล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพี่ๆ ในวงการ startup ที่เห็นว่าเราทำงานร่วมกันมา 3 ปี สิ่งที่เราทำมันสามารถ scale ได้ เรามีเป้าหมาย.... ในปี 2016 เราตั้งเป้าจะระดมทุน series A ที่ 1-2 million USD ช่วงกลางปี จะนำไปใช้เพื่อขยายสาขา และมีเทคโลยีสำหรับสถานที่ที่ทำงานที่เราทำ ตัว application แรก ที่เรา soft launch ไปแล้วชื่อ find my node เป็นเหมือน airbnb สำหรับออฟฟิศ คือว่าเราเล็งเห็นปัญหานึงของสมาชิกเรา คือ พอทีมของสมาชิกเราเริ่มใหญ่เขาเริ่มมีความจำเป็นต้องมีออฟฟิศของตัวเอง อาทิ 50 คนหากต้องมานั่งทำงานที่ HUBBA มันไม่ใช่บรรยากาศของ co-working space แต่เขาอยากได้ออฟฟิศ เขาอยากได้อออฟฟิศแบบ HUBBA เขาอยากได้ เราเลยเห็นความต้องการของตลาด เราเลยทำ find my node เราสร้างแพลตฟอร์มที่ต้องการออฟฟิศที่มีเอกลักษณ์ มีคุณลักษณะ คือ อยู่ในเมืองใกล้รถไฟฟ้า กับคนที่มี supply คนที่มีสถานที่บ้านเก๋ๆ ที่ไม่ได้อยู่ ไม่ได้อยากทำเป็น airbnb หรือ community mall ที่ร้างอยู่ หรือ office facility ที่ยังมีคนเช่าไม่เต็ม เราจะเข้าไปช่วยให้พื้นที่ของเขาที่ไม่ได้ถูกใช้สอยให้ถูกใช้สอย หวังว่าโปรดักส์นี้ที่ช่วยให้สมาชิกเรามีพื้นที่การทำงานที่ดี และเป็น growth ของ HUBBA ซึ่งเราเริ่มเปิดตัวไปในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ในสต็อกของเรามีประมาณ​10 ที่ และเราพยายามจะมี 100 locations ในต้นปี 2559 เราเน้นพื้นที่ที่มีเอกลักษณ์ และคุณภาพ ให้ทุกคนที่มาใช้งานแล้วประทับใจ กำลังหาที่เก๋ๆ เข้ามาอยู่

findmynode.com จองเป็นรายวัน รายเดือน รายปี ได้ จองและจ่ายผ่านออนไลน์ได้เลย เราส่ง key card access ผ่านไปยังมือถือได้เลย เป็นการลดการจัดการไม่ต้องมีพนักงานไปประจำ ในอนาคตเราสามารถบริหารจัดการสถานที่นั่นแบบ remote ได้ เช่น เขาใช้เสร็จเราสามารถดูผ่านกล้องวงจรปิดได้ไหม ดูเรื่องระบบรักษาความปลอดภัยผ่านกล้อง ปรับอุณหภูมิ ปรับไฟ ผ่านกล้อง เป็นต้น เป็นนวัตกรรมที่เราใช้ IOT [Internet of Thing] เข้ามาบริหาร เป็น smart office จริงๆ แต่ที่เป็นเอกลักษณ์ คือ ไม่ได้จำกัดแค่การเป็น co-working space แต่เราสามารถสร้าง asset ปรับเปลี่ยนให้เป็นสถานที่ทำงานในรูปแบบต่างๆ อาทิ ห้องประชุม meeting space, conference space เราก็จะมีพื้นที่หลากหลาย function ให้เลือกใช้ เป็นการขยายจากเดิมที่มี 3 รูปแบบ คือ ลงทุนเอง ร่วมลงทุน และบริหารให้ เป็นการสร้างแพลตฟอร์มกลาง 

เงินจะนำมาสร้างคนสร้างทีม เพื่อเตรียมขยายต่างประเทศ ทีมงานต้องเก่งเรื่อง support และ facilitate startup ตอนนี้มีเกือบ 30 คน เราต้องทำให้เขาเก่งพอที่จะไปบริหารในหลายๆ location ทั้งในต่างจังหวัดและต่างประเทศ ทุกสัปดาห์มีคนติดต่อเข้ามาเกือบ 5 รายว่าอยากให้ไปทำ co-working space ที่นั่นที่นี่ เรารับได้แค่ 1% ของโครงการที่เสนอมา ซึ่งหากเราได้รับการลงทุน เราจะมีกำลังในการทำมากขึ้น 

HUBBA เป็น startup ที่สนับสนุน startup และพี่ๆ startup ก็มา support HUBBA เพราะอยากให้ HUBBA ช่วยสร้างและดูแล startup ที่เกิดขึ้นใน community เป็นปรัชญาของคนในวงการ startup คือ “give before you get” ถ้าในวงการมีรุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จ เข้ามาช่วยหนุนน้องๆ รุ่นใหม่ ให้เกิดเยอะๆ จะทำให้วงการคึกคัก เราอยากให้วงการ startup มีวัฒนธรรมเหมือน silicon valley ซึ่งการสนับสนุนเด็กรุ่นใหม่ โดยคนรุ่นเก่าที่ประสบความสำเร็จแล้ว มันดีต่อวงการโดยรวม อยากเห็นภาพความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อยากสร้างวัฒนธรรมของการเป็นผู้ประกอบการในไทยแบบนี้ 

- นอกจากการทำ co-working space แล้วคุณเอมได้มีบทบาทและส่วนสนับสนุน startups ไทยอย่างไรอีกบ้าง 

บทบาทส่วนตัว คือ ไปเป็น speakers ทั้งสอนทั้งแชร์ประสบการณ์ และเข้าไปช่วยงานสมาคมฯ อยากทำให้ปีหน้าเป็นปีของ startup ปีนี้เราเริ่มเห็นธนาคารใหญ่ๆ กระโดดเข้ามาเล่น เห็น telco แล้ว หวังว่าภาคราชการที่กำลังคิดเรื่อง DE [digital economy] หวังว่าปี 2559 นี้ ด้วย input และ insight ที่เรามีเกี่ยวกับวงการ startup เราจะสามารถ recommendation ที่ชัดได้ว่า startup ต้องการอะไร แล้วใน region นี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง แล้วทำไมรัฐบาลควรจะต้องเข้ามาให้การสนับสนุน เรากำลังดำเนินการทั้งผ่านสมาคมฯ ผ่าน techsauce partner ต่างๆ ในการทำให้แผน DE มาสนับสนุน startup จริงๆ 

หากรัฐเข้ามาปลดล็อกในหลายเรื่อง อาทิ เงิน work permit visa incentive ต่างๆ มันจะทำให้ startup วิ่งเร็วขึ้น ทำให้วงการโตได้เร็วขึ้น ในขณะเดียวกันต้องทำให้ภาครัฐเห็นว่าในไทยมี startup เจ๋งๆ ที่ผ่านมาเราเป็นตัวเชื่อมระหว่าง startup-corporate-vc มาโดยตลอด เราอยากดึงภาครัฐเข้ามาว่าภาครัฐสามารถให้การสนับสนุนอะไรได้ อย่างน้อยๆ อยากให้ภาครัฐ อย่าเพิ่มกฏเกณฑ์มาตรการที่ทำให้ startup โตช้าลง 

เราไม่ได้มองว่า startup ต่างชาติเป็นคู่แข่ง แต่เราสามารถเรียนรู้จากเขาได้ เขาได้ขยายธุรกิจ เราได้เรียนรู้  ตัวอย่าง rocket internet มาในไทยที่ทำ lazada เขาจ้างคนไทยมากมาย สอนคนในงาน startup e-commerce สักวันนึงคนเหล่านั้นมีประสบการณ์มีความรู้มีเงินเดือน ออกมาทำ startup เกี่ยวกับ e-commerce เต็มไปหมดเลย ก็ทำให้วงการในไทยมี e-commerce startup มากขึ้น

ตอนนี้ผมไม่ได้เป็นนักลงทุน อาจมีลงทุนส่วนตัวบ้าง แต่ไม่เยอะ มีคนเข้ามาติดต่ออยากให้ลงทุนอยู่เรื่อยๆ แต่คงมีโอกาสในอนาคต แต่ตอนนี้ขอโฟกัสในเรื่องของ HUBBA เราเป็นได้แต่ไม่ได้รีบร้อนอะไร โดยส่วนของตัวเองและของ HUBBA ยังไม่ได้เล่นบทบาทเป็น VC 

- ultimate goal ของ HUBBA

ultimate goal ของ HUBBA คือ อยากจะเป็นบริษัท ผู้ที่สร้าง ecosystem ที่จะทำให้วงการ tech startup ของไทยเป็นหนึ่งใน top ecosystem ของ SEA ไม่ว่าเรื่องจำนวน co-working space จำนวน startup ที่เกิดขึ้นใหม่ จำนวน startup ที่ได้รับการระดมทุน ขนาดของการระดมทุน และ startup ของไทยที่สามารถขยายไปในต่างประเทศ โดยที่ HUBBA จะเป็นพี่เลี้ยงในช่วงต้น มีส่วนร่วมในการสร้าง startup ตั้งแต่เริ่มต้นจนไปถึงสามารถระดมทุนและขยายธุรกิจได้ เราจะมีธุรกิจที่จะอยู่ในทุกช่วงของเส้นทางของ startup ไม่ว่าจะสอน co-working space และสุดท้าย HUBBA เองก็อยากเป็น startup ที่มี exit หรือ เข้าระดมทุนในตลาดฯ ได้ ในอนาคตเรายังไม่รู้ แต่เราคิดว่า ultimate goal ของ HUBBA คือ มอง success case ใน silicon valley อย่าง WeWork ที่ระดมทุนได้มากกว่า 750M USD และมีมูลค่าบริษัท 10 billion dollars และขยายไปหลายประเทศ กำลังจะเปิดในฮ่องกง เราเห็นแล้วว่าใน business model ของ co-working space ก็ขยายได้ และ HUBBA เองก็มีศักยภาพที่จะเป็น unicorn ได้ 

- มุมมองต่อพัฒนา startups ของไทย และมุมมองต่อวงการ startup โดยรวม 

เห็นความเป็นเอกลักษณ์ของวงการ startup ไทย เร่ิมจากเล็กไปใหญ่ ทำให้มีความร่วมมือที่ดีมาก ร่วมมือกันทำงานเพื่อสร้างโอกาส จำนวน/ปริมาณของคนที่เก่งมีมาก แต่เรายังไม่สามารถสนับสนุนเขาได้ดีพอ ให้เขาเติบโตได้เร็ว เขาอาจจะติดปัญหาเรื่องเงินทุน โอกาสการเข้าตลาด แต่ตอนนี้ปัญหาใหม่ๆ คือ เรื่องบุคลากร เรามองว่า การสร้าง community แข็งแรงในเชิงรากหญ้า แต่ยังขาดแรงสนับสนุนจากภาครัฐ แรงสนับสนุนหลักๆ มาจากภาคเอกชน ทำให้เติบโตได้ดีขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่เร็วเท่าที่ควร แต่คาดว่าปี 2559 นี้จะเติบโตอีก

การทำธุรกิจที่มีมี innovation ไม่มีเทคโนโลยี ไม่ differentiate มันแทบจะเป็นธุรกิจที่ไม่มีอนาคต แต่การใช้ technology innovation ต้นทุนประหยัด แต่เติบโตได้ทั่วโลก ด้วยต้นทุนที่ถูกมาก ตรงนี้คือโอกาส โอกาสที่คนรุ่นนี้เข้าถึงได้ง่ายที่สุด และเป็นโอกาสที่ผู้ใหญ่ ต้องลงมาคลุกคลีกับคนรุ่นใหม่ เพราะเขาอาจจะตามเทคโนโลยีไม่ทัน เขาอาจจะไม่เข้าใจเท่าคนรุ่นใหม่ ซึ่งตรงนี้ unique ไม่ใช่ว่าประสบการณ์มากว่า รวยกว่า ชื่อเสียงดังกว่า นามสกุลใหญ่กว่า คุณจะประสบความสำเร็จมากกว่า ตรงนี้เป็นโอกาสของคนรุ่นใหม่ที่เข้ามี passion มีความเก่ง มีความตั้งใจ มุ่งมั่นที่จะทำให้สำเร็จ สามารถที่จะประสบความสำเร็จได้ เลยคิดว่าจะมีแต่คนอยากจะมาทำ startup มากขึ้นเรื่อยๆ